ขณะ ที่ภาวะเศรษฐกิจของโลกกำลังระส่ำระส่าย ประเทศไทยก็ประสบกับปัญหาการเมืองภายในประเทศที่ทวีความรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งมีการเผยแพร่ข่าวไปทั่วโลก รวมทั้งออก Travel Warning ของ 24 ประเทศ เพื่อแจ้งเตือนประชาชนถึงความเสี่ยงในการเดินทางมาประเทศไทย ส่งผลลบต่อภาพลักษณ์ด้านความปลอดภัยของประเทศไทยอย่างชัดเจน และเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองที่เกิดขึ้น ระหว่างวันที่ 8-14 เมษายน 2552 ยิ่งเป็นภาพที่ตอกย้ำในด้านความปลอดภัย ทำให้นักท่องเที่ยวขาดความมั่นใจส่งผลให้จำนวนการเดินทางเข้าประเทศไทยของ นักท่องเที่ยวลดลงอย่างรุนแรง
รัฐบาล เล็งเห็นความสำคัญของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จึงได้ออกมาตรการประกันภัยคุ่มครองชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย และได้รับความสูญเสีย หรือความเสียหาย หรือไม่สามารถเดินทางออกจากประเทศไทยได้เนื่องจากเกิดจลาจลขึ้น เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในความปลอดภัยในการเดินทางเข้าประเทศของชาว ต่างชาติ
ดาวโหลดเอกสารรายละเอียดได้ที่นี่
ระยะเวลาประกันภัย
31 มีนาคม 2553 เวลา 16.31 น. สิ้นสุด 31 มีนาคม 2554 เวลา 16.30 น.
ผู้ได้รับความคุ้มครอง
ชาว ต่างชาติทุกคน ซึ่งเดินทางเข้ามาในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และได้รับการประทับตราจากด่านตรวจคนเข้าเมืองของประเทศไทย และได้รับความสูญเสีย หรือความเสียหายตามความคุ้มครองจากการเกิดจลาจล
ความคุ้มครอง
ความคุ้มครองจากการเกิดจลาจล ประกอบด้วย 3 กรณี ได้แก่
1. การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ สายตา หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง 10,000 เหรียญ สรอ. ต่อคน
2. ค่ารักษาพยาบาล ตามที่จ่ายจริง และหากต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเกินกว่า 10 วัน ขึ้นไป จะได้รับเงินชดเชยอีก 1,000 เหรียญ สรอ. ต่อคน แต่ รวมแล้ว ไม่เกิน 10,000 เหรียญ สรอ. ต่อคน
. 3. ความสูญเสียหรือความเสียหายจากการหยุดชะงักของการเดินทาง ชดเชยวันละ 100 เหรียญ สรอ. ต่อคน แต่ไม่เกิน 10,000 เหรียญ สรอ. ต่อคน
จำนวนเงินความคุ้มครอง
ข้อยกเว้น
1. ความสูญเสีย หรือความเสียหายใด ๆ อันเกิดจากหรือสืบเนื่องจากสาเหตุอื่น ๆ ที่มิได้เกิดจากการจลาจล
2. ความสูญเสียหรือความเสียหายใด ๆ ที่เกิดขึ้นภายนอกประเทศไทย
3. สงคราม การรุกราน การกระทำที่มุ่งร้ายของศัตรูต่างชาติ หรือการกระทำที่มุ่งร้ายคล้ายสงคราม ไม่ว่าจะได้มีการ ประกาศสงครามหรือไม่ก็ตาม
4. ภัยก่อการร้าย
การแจ้งความเสียหาย
ผู้ ได้รับความคุ้มครอง หรือผู้แทนต้องแจ้งเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนหรือค่าชดเชยทันที หรือแจ้งเป็นหนังสือภายใน 15 วัน นับจากวันที่เกิดความสูญเสียหรือความเสียหายใด ๆ
วิธีการแจ้งเหตุ เพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนหรือค่าชดเชย
ผู้ได้รับความคุ้มครองหรือผู้แทน สามารถแจ้งเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนหรือ ค่าชดเชยผ่านหน่วยงานรับแจ้งเหตุ คือ
ในประเทศ แจ้ง กองบังคับการตำรวจท่องเที่ยว
หรือ สถานีตำรวจท่องเที่ยว
สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ได้รับความคุ้มครองที่ประทับตราเข้าประเทศไทย
หลักฐานทางราชการที่แสดงว่าชาวต่างชาติได้รับความเสียหาย ภายใต้ความคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันภัยนี้ หรือ ใบบันทึกประจำวันของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ใบมรณะบัตรระบุสาเหตุของการเสียชีวิต
ใบรายงานการชันสูตรพลิกศพ
เอกสารแสดงความเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ได้รับความคุ้มครอง
กรณีสูญเสียอวัยวะ สายตา หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง
สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ได้รับความคุ้มครองที่ประทับตราเข้าประเทศไทย
หลักฐานทางราชการที่แสดงว่าชาวต่างชาติได้รับความเสียหาย ภายใต้ความคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันภัยนี้ หรือ ใบบันทึกประจำวันของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ใบรายงานแพทย์
กรณีเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนค่ารักษาพยาบาล
สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ได้รับความคุ้มครองที่ประทับตราเข้าประเทศไทย
หลักฐานทางราชการที่แสดงว่าชาวต่างชาติได้รับความเสียหาย ภายใต้ความคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันภัยนี้
ใบรายงานแพทย์
ต้นฉบับใบเสร็จรับเงินที่แสดงรายการค่าใช้จ่าย
กรณีหยุดชะงักของการเดินทาง
สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ได้รับความคุ้มครองที่ประทับตราเข้าประเทศไทย
หลักฐานทางราชการที่แสดงว่าชาวต่างชาติได้รับความเสียหาย ภายใต้ความคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันภัยนี้
เอกสารยืนยันการเดินทางออกนอกประเทศไทย เช่น บัตรโดยสารการเดินทางที่จองไว้ล่วงหน้าและบัตรโดยสารที่ผู้ได้รับความคุ้ม ครองได้ใช้ในการเดินทางตามจริง

|
สมาคม ประกันวินาศภัย เป็นผู้จ่ายค่าสินไหมทดแทนหรือค่าชดเชยให้แก่ผู้ได้รับความคุ้มครอง หรือ ทายาทโดยธรรมของผู้ได้รับความคุ้มครองโดยประสานความร่วมมือกับสำนักงานปลัด กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาและ กองบังคับการตำรวจท่องเที่ยว
รายชื่อและที่อยู่ของหน่วยงานผู้ประสาน
สำนักอำนวยการและช่วยเหลือนักท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
สถานที่ติดต่อ : 4 ถนนราชดำเนินนอก เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย
กรุงเทพฯ 10100
โทรศัพท์ : 0 2283 1500, 0 2283 1555 ต่อ 1552, 1676
Website : http://www.mots.go.th/
· สำนักคณะกรรมการกำกับและส่งเสริม การประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)
สถานที่ติดต่อ : 22/79 ถนนรัชดาภิเษก แขวงจันทร์เกษม เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทรศัพท์ : 0 2515 3995-9
สายด่วนประกันภัย 1186
Website : http://www.oic.or.th/
· กองบังคับการตำรวจท่องเที่ยว (บก.ทท.)
สถานที่ติดต่อ : 999 หมู่ 1 ถนนสุวรรณภูมิ
ตำบลหนองปรือ อำเภอบางพลี สมุทรปราการ 10540
โทรศัพท์ : 0 2134 0522
สายด่วน 1155
โทรสาร : 0 2134 0522
Website : http://www.tourist.police.go.th/
· สมาคมประกันวินาศภัย
สถานที่ติดต่อ : 223 ซอยร่วมฤดี ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทรศัพท์ : 0 2256 6032-8
โทรสาร : 0 2256 6039-40
Website : http://www.thaigia.com/
ข้อมูลจาก
http://www.mots.go.th/ewt_news.php?nid=1895